สนุกกับ mind map และ การบ้านของเด็กๆ

mindmap

เมื่อเข้าสู่วัยประถม การบ้านจากโรงเรียน เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับแพมแล้ว พักๆก็จะมีการบ้าน งานเขียนเรียงความ มาให้ฝึกสมองอยู่เรื่อยๆ โดยเกือบทุกครั้ง หัวข้อในการเขียนเรียงความ จะถูกเชื่อมโยงกับหัวข้อที่เรียนในห้องเรียน โดยมักจะให้เด็กๆ หาข้อมูลเพิ่มเติมเอง ก่อนที่จะนำมาเขียนรายงานส่ง

การทำการบ้านลักษณะนี้ คือ มีการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม ตาลมักจะอยู่กับแพมเสมอ (ถ้าการบ้านคัดลายมือ ปล่อยเค้าไปจัดการเองได้ค่ะ)  วิธีที่เราใช้ประจำคือ การทำเป็น mind map ระหว่างขั้นตอนรวบรวมข้อมูล ก่อนที่จะนำมาเขียนเรียงความค่ะ

การบ้านของเด็กหญิงแพม นักเรียนชั้น ป.1 รอบนี้ คือ ให้หาข้อมูลเเพิ่มเติม อย่างน้อย 5 เรื่อง เกี่ยวกับ กษัตริย์ไทย 1 พระองค์ และ พระราชินี ของต่างประเทศ ที่ครองราชย์ ณ ช่วงเวลาเดียวกัน

แพมเลือก ในหลวง (รัชกาลที่ 9 ) และ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 แห่งประเทศอังกฤษ

เนื่องจากเราได้ผ่านการบ้านลักษณะนี้มาหลายครั้งแล้ว ตาลก็แนะนำวิธีใช้ mind map ให้แพมอยู่บ่อยๆ(รวมทั้งโรงเรียนก็มีสอนมาด้วย) ครั้งนี้แพมเลยทำเองทุกขั้นตอน โดยตาลมองอยู่ห่างๆ และ  แวะมาตรวจทานให้บ้าง

มาดูการใช้ mind map ของน้องแพม เด็กป.1 อายุ 7 ขวบกันนะคะ

1. เริ่มต้นด้วยการหาข้อมูลกันต่างๆ (หาจาก google เป็นหลัก ตามฉบับเด็กสมัยนี้) ข้อมูลที่แพมอยากได้ เช่น ชื่อเต็มของในหลววง ภาษาอังกฤษ สะกดอย่างไร , ในหลวงทรงประสูติที่ไหนนะ เป็นต้น

2. นำข้อมูลต่างๆ แค่ keyword หรือ เอาแต่ใจความสำคัญ มาเขียนใส่ เป็นหัวข้อแยกย่อย คล้ายๆ short note ของเราเอง ทำแผงผัง

mymap01

mind map แรก เป็น facts about King Rama9 แพมอาจทำเส้นโยงไม่ชัดเจนนัก แต่จะเห็นได้ว่า จะใส่ keywordห ที่มีความหมายเข้าไป เห็นแบบนี้ พอจะเดากันได้มั้ยคะ? ว่าแพมจะพูดเรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับในหลวง

3. เมื่อได้ข้อมูลครบแล้ว จัดลำดับดูว่า จะเขียนหัวข้ออะไรก่อนหลังดี

4. หลังจากนั้น แพมก็จะใช้กระดาษที่เขียน mind map วางไว้ข้างๆ เพื่อใช้เป็น guideline ในการเขียนการบ้านส่งคุณครูด้วยตัวเอง

ในขั้นตอนนี้ แม่ก็นั่งอยู่ห่างๆ ปล่อยให้ลูกได้ทำการบ้านด้วยตัวเค้าเองต่อไป (ไม่จำเป็นต้องมาคอยนั่งกำกับลูก ว่ารูปประโยชน์จะเป็นไงดี ควรปล่อยให้ลูกได้ใช้ความสามารถ ในการเชื่อมโยง และ ฝึกการเขียนด้วยตัวเอง ตามจุดประสงค์ที่โรงเรียนให้การบ้านมานะคะ ยิ่งช่วยลูกมาก ลูกก็จะยิ่งไม่ฉลาดขึ้น อย่าลืมข้อนี้ค่ะ)

mymap02

mind map ที่สอง เป็น facts about Queen Elizabeth 2

**ประโยชน์ที่ได้จากการฝึกใช้ mind map เป็นประจำ**

– ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ เรียนรู้การวางแผน

– สามารถนำไปปรับใช้กับเรื่องอื่นๆได้ ไปจนโต

– เป็นการช่วยฝึกความจำให้ดีขึ้น

**คำแนะนำ**

นอกจากประโยชน์กับการเรียน การทำการบ้านแล้ว ไอเดียการใช้ mind map สามารถนำมาสอดแทรกได้ กับทุกเรื่องในชีวิตประจำวันอีกด้วยนะคะ และ สำหรับเด็กเล็ก ที่ยังเขียนอ่านไม่ได้  ในการสร้าง mind map แนะนำให้ใช้การวาดภาพต่างๆ แทนการเขียน

mind map เป็นอีกหนึ่งวิธีการเรียนรู้ที่สนุก และ สามารถปรับใช้ได้กับทุกเพศทุกวัย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ mind map ช่วยการจดจำ และ เชื่อมโยงเรื่องราวที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น ลองนำไปใช้ดูกันนะคะ มีแต่ประโยนช์จริงๆ

#ํYummyMummyTarn

ติดตามอัพเดทได้ที่ http://www.facebook.com/YummyMummyTarn

————————————————————

mind map คือ อะไร?

ผังมโนภาพ หรือ แผนที่ความคิด หรือ ไมด์แม็ป (อังกฤษ: mind map) คือไดอะแกรมที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่องโยงของมโนภาพที่สัมพันธ์กันรูปแบบหนึ่ง

ผังมโนภาพถือว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยบันทึกความคิดเพื่อให้เห็นภาพความคิด ที่หลากหลายมุมมองที่กว้างและชัดเจนกว่าการบันทึกที่โดยยังไม่จัดระบบ ระเบียบความคิดใดๆ อีกทั้งเป็นวิธีการที่สอดคล้องกับโครงสร้างทางการคิดของมนุษย์ที่บางช่วง มนุษย์จะสูญเสียสมาธิและความจดจ่อไปโดยอัตโนมัติขณะที่กำลังคิดเรื่องใด เรื่องหนึ่ง การทำให้สมองได้คิด ได้ทำงานตามธรรมชาตินั้น มีลักษณะเหมือนต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านออกไปเรื่อย

A mind map is a diagram used to visually organize information. A mind map is often created around a single concept, drawn as an image in the center of a blank landscape page, to which associated representations of ideas such as images, words and parts of words are added.

(cr.ข้อมูล wikipedia)

———————————————————————————–